วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ท่องโลกไปทั้งใบไปกับ Google Earth

ท่องโลกทั้งใบไปกับ Google Earth 

ภูมิหลังและความเป็นมากูเกิ้ล
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม)



ความหมายของกูเกิลเอิร์ธ
กูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทกูเกิล สำหรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ดูภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมืองซ้อนทับลงในแผนที่ รวมทั้งระบบ จีไอเอส ในรูปแบบ 3มิติ GIS ในการสำรวจจากระยะไกล สำหรับผู้ใช้ข้อมูลสำรวจจากระยะไกล การแสดงผลการประมวลผลภาพแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น การตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในพื้นที่อย่างเดียวนั้นยังไม่พอ เพราะวัตถุประสงค์สุดท้ายก็เพื่อที่จะวิเคราะห์สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง หรือประเมินผลการกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลจากการศึกษาควรนำไปซ้อนกับแผนที่เกี่ยวกับการคมนาคม และแผนที่การกำหนดเขตการใช้ดิน การแปลสามารถกระทำได้ง่ายขึ้น โดยการซ้อนข้อมูลดาวเทียมที่ปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้วกับข้อมูลแผนที่ นอกจากนี้การจำแนกประเภทภาพจากดาวเทียมจะให้ถูกต้องมากขึ้น ถ้าใช้ข้อมูลเสริมอื่น ๆ จากแผนที่มาผสมผสานเข้ากับข้อมูลภาพ เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการผสมผสานข้อมูลจากระยะไกล และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ควรจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งทั้งข้อมูลภาพและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ จะถูกจัดเก็บอยู่ในลักษณะข้อมูลตัวเลข โดยสามารถเรียกสอบถามข้อมูลได้ตามเงื่อนไข หรือการซ้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตลอดจนสามารถประเมินผลได้โดยใช้รูปแบบจำลอง

กูเกิลเอิร์ธ ใช้ข้อมูลจาก ภาพถ่ายทางอากาศของ U.S. public domain และ ภาพถ่ายดาวเทียมของ คีย์โฮล มาดัดแปลงร่วมกับ ระบบแผนที่ของกูเกิล จาก กูเกิลแมพ รวมทั้งการทำงานร่วมกับ กูเกิลโลคอล เพื่อค้นหารายชื่อร้าน เช่น ร้านขายของ ธนาคาร และปั๊มน้ำมันในแผนที่ได้ โดยนำแผนที่มาซ้อนทับลงบนตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่งที่ต้องการค้นหา สามารถหาได้จาก บ้านเลขที่ ลองจิจูด ละติจูด
ละติจูด เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน” ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น ที่จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)
ลองจิจูด เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian) ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก ( Prime Meridian) การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle) ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของพิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป

วิธีการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่เป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์พิกัดภูมิศาสตร์ จะมีแสดงไว้บนแผ่นแผนที่มาตรฐานทั่วๆ ไปและแผนที่บางชนิดมีเฉพาะระบบนี้เท่านั้น ที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่ เส้นขอบระวาง( neat lines) ของแผนที่ภูมิประเทศแบบมาตรฐานซึ่งผลิตขึ้นใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันและที่นิยมใช้กันอยู่เกือบทั่วโลกขณะนี้ เส้นขอบบนและเส้นขอบล่างเป็นเส้นละติจูด เส้นด้านข้างทั้งสองเส้นเป็นเส้นลองจิจูดค่าของเส้นละติจูดและลองติจูดจะมีกำกับไว้ที่มุมทั้ง 4 ของขอบระวางแผนที่ ตามแนวเส้นขอบระวางแผนที่จะแสดงขีดส่วนแบ่งย่อยของค่าละติจูดและลองติจูดไว้ทั้งสี่ด้าน ถ้าต่อแนวเส้นตรงของขีดส่วนแบ่งย่อยดังกล่าวที่อยู่ตรงข้ามทั้ง 4 ด้าน เข้าไปภายในของระวางแผนที่แล้วจะพบเครื่องหมายกากบาทอันเป็นส่วนตัดกันของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูด ความห่างของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูดจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับขนาดมาตราส่วนของแผนที่ ทั้งยังทำงานผ่านรูปแบบภาษาของ KML (Keyhole Markup Language) ภาพตึกจำลอง 3มิติ ที่มีลักษณะเป็นสีเทาในกูเกิลเอิร์ธ ได้รับลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งมาจาก ซอฟต์แวร์ของ แซนบอร์น (Sanborn) ในชื่อ ซิตีเซ็ทส์ (City Sets) โดยรูปตึก 3มิติในรูปแบบที่สมบูรณ์สามารถเรียกดูได้ผ่านทางซิตีเซ็ทส์

Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล


แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งสนามบิน


และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษา ข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น

รูปแบบการทำงาน
สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย

การนำไปให้บริการการให้บริการนี้ทำให้เกิดการให้บริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ,ทางบก หรือทางน้ำ สามารถรู้ตำแหน่งของสินค้าได้ว่าอยู่ตรงไหนไปถูกทางหรือเปล่า จุดบกพร่องตรงหรืออุปสัก จะได้แก้ไขปัญหาได้ทัน เช่นเรืออับปางกลางทะเลแล้วมีลูกเรือติดอยู่ในเรือ หรือลอยคออยู่กลางทะเล สามารถที่รู้ตำแหน่งที่เรืออับปางได้แล้ว แล้วยังสามารถรู้ว่าเรือที่อยู่ใกล้ เรือที่อับปางอยู่ตรงให้ เพื่อขอความช่วยเหลือ หรือ การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการทหารและการป้องกันประเทศอีกสามารถที่จะรู้ตำแหล่งของศัตรู หรือฐานทัพของศัตรู หรือฐานที่ตั้งของระเบิดนิวเคลียร์

ปัจจุบันมีการพัฒนาการให้บริการที่ผสมผสานกับข้อมูลของ Google Earth หลายอย่างเช่น ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกและชัดเจน การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงจะเอื้อประโยชน์ต่อรุกิจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับที่พักอาศัย บ้านเช่าต่าง ๆ
Google Earth ยังช่วยให้ธุรกิจงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ


และนอกจากนี้ โปรแกรมนี้ยังมีความสามารถในการช่วยค้นหาเส้นทาง สำหรับท่านที่ต้องการจะเดินทาง จากที่นึงไปยังอีกที่นึงได้อีกด้วย (แต่ว่าความสามารถตรงนี้นั้น สามารถใช้ได้กับบางประเทศเท่านั้น)

ซึ่งช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างถูกต้องทำให้เราสามารถค้นหาที่ที่เราจะไปหรือเส้นทาง ต่างๆ ของประเทศหรือเมืองที่เราจะเดินทางไป และข้อมูลอื่นๆ เช่น ดินฟ้าอากาศได้ และเครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง
นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ทั้วโลกสามารถมองเห็นจุดสำคัญที่ดึงนักท่องได้หลายแสนคนที่เข้าไปที่ในประเทศตน

นอกจากจะใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ในส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้วยังมีมากมายที่ใช้กูเกิ้ล เอิร์ธในการทำธุรกิจหรือธุระกรรมต่าง จะยกตัวอย่างในการที่ กรมธรณีวิทยาใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ในการหาแร่ธาตุ
· ?mineral=gold หมายถึง เลือกข้อมูลตำแหน่งพบแร่เฉพาะแร่ที่ประกอบด้วยอักษร gol
· ?mineral=lime หมายถึง เลือกข้อมูลตำแหน่งพบแร่เฉพาะแร่ที่ประกอบด้วยอักษร lime เป็นต้น
หรือจะเป็นทางด้านภัยธรรมชาติ ซึ่งทางด้าน ธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี สามารถรู้เหตุการณ์ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่เช่นแผ่นดินไหวหรือเกิดภัยพิบัติอะไรเพื่อจะได้แก้ปัญหาก่อนที่เหตุจะเกิดทำให้ลดความสูญเสียหรือเสียหายได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูลทางด้าน ธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี สู่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ศูนย์สารสนเทศ กรมทรัพยากรธรณี จึงได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี ผ่านทางโปรแกรม Google Earth โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้งานได้ที่หัวข้อข้อมูลบริการ และศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่หัวข้อ วิธีการใช้งาน


จุดแข็ง
ความสำคัญและประโยชน์ของกูเกิ้ล เอิร์ธความสำคัญและประโยชน์ของกูเกิ้ลเอิร์ธมีมากมายหลายด้านที่จะนำมาประยูกต์ใช้ให้เกิดประโยช์ของแต่องค์กรขึ้นอยู่ว่าแต่ละองค์กรหรือหน่วยงานจะนำไปให้ในรูปแบบให้ที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ด้านต่างๆ

ด้านการทหาร กูเกิ้ล เอิร์ธ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ทางด้านการทหารใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ต่างๆ หรือ ใช้เป็นเครื่องมือคู่กับแผนที่เพื่อความถูกต้องและแมนยำของฐานที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ๆ ที่ต้องการทราบ ในการโจมตีศัตูร,ป้องกันประเทศ, ช่วยเหลือประชาชน ฯลฯ

ด้านการเมืองการปกครอง จำเป็นระดับหนี่งต้องอาศัยกูเกิ้ล เอิร์ธในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง กูเกิ้ล เอิร์ธ ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ ต่าง ๆ มากมาย
ด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยก็ต้องเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้งแต่ สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร นอกจากนี้ยังสามารถใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว กูเกิ้ล เอิร์ธ มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
ด้านการเรียนการสอน กูเกิ้ล เอิร์ธ เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่


จุดอ่อน
- ยังทีบางพื้นที่ที่กูเกิ้ล เอิร์ธยังมองภาพผ่านกูเกิ้ล เอิร์ธ ได้ เนื่องจากเ ป็นพื้นที่เฉพาะ หรือเป็นสาถานที่สำคัญ และนอกจากนี้ บางพื้นที่ภาพของกูเกิ้ล เอิร์ธ จากดาวเทียมยังไม่อัปเดรส ทันต่อโลกปัจจุบัน
- อาจเป็นประโยชน์กับผู้ที่นำไปใช้ผิดทางได้ อยู่เช่น อาจกระทบกับความมั่นคงของประเทศได้ โดยเคยมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ กองทัพไทยผวา เว็บไซด์ “กูเกิ้ลเอิร์ท” ที่เปิดให้บริการกับสาธารณะทั่วไป ใครๆ ก็สามารถเปิดดูได้ เป็นการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียมแบบเจาะลึกสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก มีส่วนขยายเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน คล้ายดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ที่เห็นในภาพยนตร์ เจ้าของเว็บระบุ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่ต้องการวางแผนการเดินทาง ค้นหาที่พัก หรือหาเส้นทางการจราจร หรือนักลงทุนที่ต้องการศึกษาพื้นที่ แต่กองทัพหวั่นฝ่ายตรงข้ามเจาะข้อมูลที่ตั้งทางทหารทะลุปรุโปร่งแน่เมื่อวันที่ 6 ก.ย. กองทัพไทย ได้ขอความร่วมมือกับ บริษัท กูเกิ้ล (Google USA) ให้ปรับลดความชัดเจนภาพถ่ายดาวเทียมลง หวั่นเกิดผลกระทบความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก บริษัท กูเกิ้ลฯ ได้เปิดบริการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียมในส่วนของบริการแผนที่โลก หรือ กูเกิ้ลเอิร์ท (Google Earth) ซึ่งเป็นการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียม ให้บริการแก่สาธารณะชน ซึ่งใครที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าดูได้หมด โดยจัดให้บริการผ่านเว็บไซด์ www.google.com ซึ่งสามารถค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของประเทศต่างๆ จนกระทั่งอำเภอ ตำบล ไปจนถึงตำแหน่งบ้าน โดยสามารถที่จะขยายภาพให้เห็นรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างชัดเจน รวมถึงสถานที่ที่ต้องการรักษาความลับ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เรื่องดังกล่าว กองทัพไทย เกรงว่าภาพถ่ายจากดาวเทียม ที่ กูเกิ้ล ให้บริการนี้ อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เนื่องจากสามารถเข้าดูสถานที่ตั้งทางทหาร และพื้นที่สำคัญด้านความมั่นคงของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน เพราะภาพถ่ายจากดาวเทียมดังกล่าว มีความละเอียดสูง และมีความชัดเจนของภาพมาก ทั้งยังมีการปรับปรุงภาพถ่ายจากดาวเทียมให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคล้ายกับการปฏิบัติการของดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ซึ่งไม่เป็นผลดี ถ้ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศไทย คิดนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อสร้างความไม่สงบต่อที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ฉะนั้นทางกองทัพไทย จึงได้ขอความร่วมมือไปยัง บริษัท กูเกิ้ล สหรัฐอเมริกา ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ ให้ปรับลดรายละเอียด และความชัดเจนของภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถึงแม้การให้บริการดังกล่าว จะเป็นเรื่องของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ตาม อย่างไรก็ตามนอกจากประเทศไทยแล้ว ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า เกาหลีใต้ ได้ออกมาแสดงความกังวลใจกับการให้บริการดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีความคมชัด และเกาหลีใต้ก็ยังมีกรณีพิพาทกับเกาหลีเหนืออยู่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กูเกิ้ล ได้เปิดตัวบริการแผนที่โลกด้วยการใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมมุมสูงมาสร้างเป็นแผนที่ 3 มิติ สามารถสืบค้นแผนที่ใหม่ล่าสุดเพื่อการสืบค้นแบบโลคอล หรือแบบท้องถิ่น ที่จะทำให้ผู้ใช้ได้เห็นภาพสถานที่จริงได้อย่างชัดเจน โดยได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และเป็นบริการที่ทำขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการวางแผนการเดินทาง นักธุรกิจที่ต้องการเข้าไปลงทุนในพื้นที่ต่างๆ การค้นหาที่พัก และเส้นทางจราจร

- มีการ์ดแสดงผลแบบ 3D ยี่ห้อ ATI บางรุ่นไม่สนับสนุน Google Earth (beta)... ได้แก่ ATI Rage Mobility, ATI Xpert, ATI 3D Rage.** สำหรับผู้ใช้การ์ดแสดงผลแบบ 3D
- นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์จะใช้โปรแกรมกูเกิ้ล เอิร์ธ ได้ก็ต้องมีสเปคค่อนข้างสูง
- ปัจจุบันโปรแกรม Google Earth (beta)... จะยังไม่พร้อมรองรับคอมพิวเตอร์ตระกูล Apple - คอมพิวเตอร์ Notebook รุ่นเก่า (หลัง 4 ปีก่อน) อาจใช้งานไม่ได้- คอมพิวเตอร์ PC รุ่นเก่า (หลัง 2 ปีก่อน) อาจใช้งานไม่ได้สเปคคอมพิวเตอร์ที่ใช้สเปคต่ำสุดที่รองรับ- ระบบปฏิบัติการ Windows 2000, Windows XP - CPU speed: Intel Pentium III 500 MHz - System memory (RAM): 128MB - 200MB hard-disk space - การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 16MB VRAM - 1024x768, 32-bit true color screen - อินเทอร์เน็ตที่ใช้ควรมี speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet") สเปคที่แนะนำ- ระบบปฏิบัติการ Windows XP - CPU speed: Intel® Pentium® P4 2.4GHz+ หรือ AMD 2400xp+ - System memory (RAM): 512MB - 2GB hard-disk space - การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 32MB VRAM or greater - 1280x1024, 32-bit true color screen - อินเทอร์เน็ตที่ใช้ควรมี speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")ข้อมูลเพิ่มเติมการ์ดแสดงผลแบบ 3D มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งาน Google Earth รุ่นที่สนับสนุนยี่ห้อการ์ดแสดงผลแบบ 3D ที่สนับสนุนมีดังนี้• NVIDIA • ATI* • 3D Labs • Intel** • Matrox • S3

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
●△●   ●△●   ●△●   


สาระสำคัญ   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน การเชื่อมโยงเครือข่ายต้องอาศัยตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เช่น สายสัญญาณ เส้นใยนำแสง ดาวเทียม
เครือข่ายคอมพิวเตอร์
   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกัน   เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
   - เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติต่อสื่อสารกัน
   - เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
   - เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
   ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท
   1. เครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network : LAN )  
    
 เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่นภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า


   2. เครือข่ายระดับเมือง ( Metropolitan Area Network : MAN )

     เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด หรือเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน   ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี

   3. เครือข่ายระดับประเทศ ( Wide Area Network : WAN )

     เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม



   4. เครือข่ายระหว่างประเทศ ( International Network )
     เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
   การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
   1. แบบดาว ( Star Network )

   



     เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ( Host Computer ) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่าง ๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์ แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว การส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่น ๆ การควบคุมการรับ-ส่ง ภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที

  

   ข้อดี 

     - เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง

     - เนื่องจากการรับ-ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมด จึงทำให้การรับ-ส่งข้อมูลทำได้ง่าย

     - หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
     - การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
     - หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
    
 ข้อเสีย 
     - เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
     - หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
     - ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
     - เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง
   2. แบบวงแหวน ( Ring Network )

เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็น วงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงาน ของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน การส่งข้อมูลจะส่งผ่านไปตามสายวงแหวนโดยกำหนดแอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งเครื่องมือที่ส่งจะผ่าน ๆ ทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้มินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์
     ข้อดี 
     
- สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิด เหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง
     - สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลาย ๆ สถานีพร้อมกัน
     - ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
     - ไม่เปลืองสายสื่อสาร
     ข้อเสีย 
     
- หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้
     - การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี
     - เวลาจะส่งข้อมูล จะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้
     - ติดตั้งได้ยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า
   3. แบบบัส ( Bus Network )
     มีลักษณะคล้ายแบบวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร 1 สาย โดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง 2 สถานีจะทำผ่านทางสายทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุม ดังนั้นถ้าหลาย ๆ สถานีต้องการส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือจะต้องรอจนกว่าสายจะว่าง แล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

     ข้อดี 

     - โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว

     - ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก

     - การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ
     - หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้น ๆ แต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
     ข้อเสีย
     - หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก
     - หากสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
   4. แบบผสม ( Hybrid Network )

     เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
   1. โมเด็ม ( Modem )
     โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับ และแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นแอนะล็อกเมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร
     กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน ( Modulation ) โมเด็ม ทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ ( Modulator )
     กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน ( Demodulation ) โมเด็ม ทำหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ ( Demodulator )
     โมเด็ม ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือแบบ Internal และ External โมเด็ม ในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็ม และ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
   2. เกตเวย์ ( Gateway )
     เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
   3. เราเตอร์ ( Router )
     เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล ( Protocol ) (โปรโตคอล เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
   4. บริดจ์ ( Bridge )
     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากต้นทางและ ส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกันของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย

   5. รีพีตเตอร์ ( Repeater )
     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกล ๆ สำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณ ข้อมูลที่เริ่มจะเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิทัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณ เพื่อป้องกันการขาดหาย ของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกล ๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เชื่อมต่อกับเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต


●△●   ●△●   ●△●   


การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้

1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC 

2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)

      โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 
      1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
        2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต 
4.ซอฟต์แวร์  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ         
 1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
  2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
     3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) 
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ


        

ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
        
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
       
     คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์



พ.ศ. 2510
        เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์
พ.ศ. 2512
        โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า แพ็กเก็ตสวิตชิง (packet Switching)
พ.ศ. 2515
        เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้
พ.ศ. 2525
        ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
พ.ศ. 2527
        มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย
พ.ศ. 2529
         มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือ CSnet
พ.ศ. 2532
        มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
การทำงานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         การทำงานของอินเทอร์เน็ตนั้นข้อมูลต่างๆจะสื่อสารกันได้จะต้องมีกฏเกณฑ์ที่ใช้สื่อสารเป็นกฏเดียวกันในการควบคุมรูปแบบคำสั่งและข้อมูล  และมีการกำหนดหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์หรือชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อด้วย
TPC/IP ภาษากลางบนอินเทอร์เน็ต
         ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก  ซึ่งแต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างรุ่นต่างแบบกันไป  เมื่อเราต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าด้วยกน  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกติกากลางเพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเข้าใจกันได้  ซึ่งในกติกากลางนี้มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า โปรโตคอล (protocol)
         สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TPC/IP การทำงานของ TPC/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งไปอีกเครื่องเป็นส่วนย่อยๆ (เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet) และส่งไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  โดยกระจายแพ็คเก็ตเหล่านี้ไปหลายเส้นทาง ซึ่งแพ็คเก็ตเหล่านี้จะไปรวมกันที่ปลายทางและถูกนำมาประกอบกันเป็นข้อมูลทสมบูรณ์อีกครั้ง
รับส่งข้อมูลได้ถูกที่ด้วย IP Address
         เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง  เราต้องทราบที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นบนอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า ไอพี แอดเดรส (IP Address)
         ไอพีแอดเดรส เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซค่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255


โดเมนเนม
         แม้อินเทอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก  จึงได้มีการใช้โดเมนเนม (Domain Name) หรืออินเทอร์เน็ตแอดเดรสมาใช้  ซึ่งเป็นการนำตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส  โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน  และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท  หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อ เช่น องค์กรการอวกาศแห่งสหรัฐ (NASA) มีโดเมนเนม nasa.gov
      ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น ซึ่งจะเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ เข้ามาร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สำหรับการการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมงเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อม เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท


ระบบเครือข่ายแบบเดิม
ในปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ต ขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต
ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ประกอบด้วยชื่อของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้ ผู้ใช้@ ชื่อของอินเทอร์เน็ต เช่น Rattanachai@comnet3.ksc.net.th ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Rattanachai เป็นสมาชิกของศูนย์คอมที่ชื่อว่า comnet3 ที่มีชื่ออินเทอร์เน็ตว่า ksc.net.th เป็นต้น


หมายเลขประจำตัวเครื่อง ( IP Address)
ในการกำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะนำไประบุไว้ในส่วนของ IP เมื่อต้องการส่งข้อมูลเราก็จะเรียกตัวเลขระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้นี้ว่า IP Address ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดจะมีรหัสที่ไม่ซ้ำกันแ ละจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.150.251.31 หรือ 158.108.2.71 เป็นต้น


ระบบชื่อของเครื่อง
ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS: Domain Name System) คือ ชื่อที่ใช้อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เนื่องจาก IP Address นั้นจำยาก ดังนั้นเราจึงนำ DNS มาใช้แปลงตัวเลข IP Address ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายมาเป็นชื่อที่เราอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น nwg.nectec.or.th, comnet3.ksc.net.th เป็นต้น
ความหมายของโดเมน
com หมายถึง ใช้ธุรกิจ, บริษัท, ห้างร้าน (commercial)
net หมายถึง เป็นกลุ่มที่ให้บริการด้านเครือข่าย (network services)
edu หมายถึง ใช้ในสถาบันการศึกษา (education)
gov หมายถึง ใช้ในหน่วยงานรัฐบาล (government)


ตัวอย่างโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
au หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia)
hk หมายถึง ฮ่องกง (Hong Kong)
jp หมายถึง ญี่ปุ่น (Japan)
fr หมายถึง ฝรั่งเศส (France)
uk หมายถึง อังกฤษ (United Kingdom)
th หมายถึง ไทย (Thailand)
ca หมายถึง แคนนาดา (Canada)


ความหมายของซับโดเมน
co หมายถึง องค์กรธุรกิจ (Commercial) เช่น ksc.co.th เป็นต้น
ac หมายถึง สถาบันการศึกษา (Academic) เช่น ku.ac.th เป็นต้น
go หมายถึง หน่วยราชการ (Government) เช่น mua.go.th เป็นต้น
or หมายถึง องค์กรอื่น ๆ (Organization) เช่น nectec.or.th เป็นต้น
net หมายถึง องค์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย (Network)
เช่น asiaaccess.net.th เป็นต้น


ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า " เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ