วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ท่องโลกไปทั้งใบไปกับ Google Earth

ท่องโลกทั้งใบไปกับ Google Earth 

ภูมิหลังและความเป็นมากูเกิ้ล
จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม)



ความหมายของกูเกิลเอิร์ธ
กูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาโดยบริษัทกูเกิล สำหรับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ดูภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมืองซ้อนทับลงในแผนที่ รวมทั้งระบบ จีไอเอส ในรูปแบบ 3มิติ GIS ในการสำรวจจากระยะไกล สำหรับผู้ใช้ข้อมูลสำรวจจากระยะไกล การแสดงผลการประมวลผลภาพแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น การตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในพื้นที่อย่างเดียวนั้นยังไม่พอ เพราะวัตถุประสงค์สุดท้ายก็เพื่อที่จะวิเคราะห์สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง หรือประเมินผลการกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผลจากการศึกษาควรนำไปซ้อนกับแผนที่เกี่ยวกับการคมนาคม และแผนที่การกำหนดเขตการใช้ดิน การแปลสามารถกระทำได้ง่ายขึ้น โดยการซ้อนข้อมูลดาวเทียมที่ปรับแก้เชิงเรขาคณิตแล้วกับข้อมูลแผนที่ นอกจากนี้การจำแนกประเภทภาพจากดาวเทียมจะให้ถูกต้องมากขึ้น ถ้าใช้ข้อมูลเสริมอื่น ๆ จากแผนที่มาผสมผสานเข้ากับข้อมูลภาพ เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการผสมผสานข้อมูลจากระยะไกล และข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ควรจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ซึ่งทั้งข้อมูลภาพและข้อมูลทางภูมิศาสตร์ จะถูกจัดเก็บอยู่ในลักษณะข้อมูลตัวเลข โดยสามารถเรียกสอบถามข้อมูลได้ตามเงื่อนไข หรือการซ้อนข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตลอดจนสามารถประเมินผลได้โดยใช้รูปแบบจำลอง

กูเกิลเอิร์ธ ใช้ข้อมูลจาก ภาพถ่ายทางอากาศของ U.S. public domain และ ภาพถ่ายดาวเทียมของ คีย์โฮล มาดัดแปลงร่วมกับ ระบบแผนที่ของกูเกิล จาก กูเกิลแมพ รวมทั้งการทำงานร่วมกับ กูเกิลโลคอล เพื่อค้นหารายชื่อร้าน เช่น ร้านขายของ ธนาคาร และปั๊มน้ำมันในแผนที่ได้ โดยนำแผนที่มาซ้อนทับลงบนตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่งที่ต้องการค้นหา สามารถหาได้จาก บ้านเลขที่ ลองจิจูด ละติจูด
ละติจูด เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพโดยให้พื้นราบนั้นตั้งได้ฉากกับแกนหมุนของพิภพเสมอ เส้นรอยตัดดังกล่าวนั้นคือเส้นละติจูด นิยมเรียกสั้นๆ ว่า “ เส้นขนาน” ละติจูดศูนย์องศา คือ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพ ที่เกิดจากพื้นราบที่ตั้งได้ฉากกับแกนหมุนตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ เส้นรอยตัดเส้นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นศูนย์สูตร” (Equator) ซึ่งเป็นวงขนานละติจูดวงใหญ่ที่สุด ค่าละติจูดของวงละติจูดใด คือ ค่ามุมที่จุดศูนย์กลางของพิภพนับไปตามพื้นราบที่บรรจุแกนหมุนของพิภพ เริ่มจากพื้นศูนย์สูตรถึงแนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพไปยังวงละติจูตนั้น ที่จุดขั้วเหนือของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาเหนือ และที่จุดขั้วใต้ของพิภพมีค่าละติจูดเท่ากับ 90 องศาใต้
เนื่องจากพื้นของวงละติจูดศูนย์องศา หรือพื้นศูนย์สูตร เป็นพื้นที่ตัดผ่านจุดศูนย์กลางของพิภพ วงศูนย์สูตรจึงถูกเรียกว่า “วงกลมใหญ่” ส่วนละติจูดอื่นๆ เป็นวงกลมเล็ก วงละติจูตจะมีขนาดเล็กลงๆ เมื่อห่างวงศูนย์สูตรออกไปจนกระทั่งกลายเป็นจุดที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ระยะห่างระหว่างเส้นละติจูด 1 องศา คิดเป็นระยะทางบนผิวพิภพประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต)
ลองจิจูด เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพที่เกิดจากการสมมติใช้พื้นราบตัดพิภพ โดยให้พื้นราบผ่านแนวแกนหมุนของพิภพ เส้นรอยตัดบนพื้นผิวพิภพดังกล่าวเรียกว่า เส้นลองจิจูดหรือเส้นเมริเดียน ( Meridian) ลองจิจูดศูนย์องศา คือเส้นลองจิจูดที่ผ่านหอส่งดาว ณ เมืองกรีนิส (Greenwich) ในประเทศอังกฤษ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เมริเดียนหลัก ( Prime Meridian) การกำหนดค่าลองจิจูด คือค่าง่ามมุมที่จุดศูนย์กลางพิภพบนพื้นศูนย์สูตรโดยใช้แนวเส้นตรงที่ลากจากจุดศูนย์กลางพิภพมายังเมริเดียนหลักเป็นแนวเริ่มนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันออก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันออก และนับค่าง่ามมุมไปทางตะวันตก 180 องศา เรียกว่า ลองจิจูดตะวันตก เส้นลองจิจูดที่ 180 องศาตะวันออกและตะวันตกเป็นเส้นเดียวกัน ลองจิจูดทุกเส้นเป็นส่วนโค้งของวงกลมใหญ่(Great Circle) ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูด 1 องศา ตามเส้นศูนย์สูตร คิดเป็นระยะทางประมาณ 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) และ 1 พิลิปดา มีระยะห่างประมาณ 30.48 เมตร (100 ฟุต) แต่เนื่องจากเส้นลองจิจูตทุกเส้นจะไปบรรจบกันที่จุดขั้วเหนือและขั้วใต้ของพิภพ ดังนั้น ระยะห่างระหว่างเส้นลองจิจูดจึงน้อยลงๆ เมื่อยิ่งห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไป

วิธีการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่เป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์พิกัดภูมิศาสตร์ จะมีแสดงไว้บนแผ่นแผนที่มาตรฐานทั่วๆ ไปและแผนที่บางชนิดมีเฉพาะระบบนี้เท่านั้น ที่ใช้ในการบอกตำแหน่งของจุดใดๆ ในแผนที่ เส้นขอบระวาง( neat lines) ของแผนที่ภูมิประเทศแบบมาตรฐานซึ่งผลิตขึ้นใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันและที่นิยมใช้กันอยู่เกือบทั่วโลกขณะนี้ เส้นขอบบนและเส้นขอบล่างเป็นเส้นละติจูด เส้นด้านข้างทั้งสองเส้นเป็นเส้นลองจิจูดค่าของเส้นละติจูดและลองติจูดจะมีกำกับไว้ที่มุมทั้ง 4 ของขอบระวางแผนที่ ตามแนวเส้นขอบระวางแผนที่จะแสดงขีดส่วนแบ่งย่อยของค่าละติจูดและลองติจูดไว้ทั้งสี่ด้าน ถ้าต่อแนวเส้นตรงของขีดส่วนแบ่งย่อยดังกล่าวที่อยู่ตรงข้ามทั้ง 4 ด้าน เข้าไปภายในของระวางแผนที่แล้วจะพบเครื่องหมายกากบาทอันเป็นส่วนตัดกันของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูด ความห่างของขีดส่วนแบ่งย่อยละติจูดและลองติจูดจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับขนาดมาตราส่วนของแผนที่ ทั้งยังทำงานผ่านรูปแบบภาษาของ KML (Keyhole Markup Language) ภาพตึกจำลอง 3มิติ ที่มีลักษณะเป็นสีเทาในกูเกิลเอิร์ธ ได้รับลิขสิทธิ์ส่วนหนึ่งมาจาก ซอฟต์แวร์ของ แซนบอร์น (Sanborn) ในชื่อ ซิตีเซ็ทส์ (City Sets) โดยรูปตึก 3มิติในรูปแบบที่สมบูรณ์สามารถเรียกดูได้ผ่านทางซิตีเซ็ทส์

Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล


แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งสนามบิน


และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษา ข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น

รูปแบบการทำงาน
สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย

การนำไปให้บริการการให้บริการนี้ทำให้เกิดการให้บริการอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ระบบที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ,ทางบก หรือทางน้ำ สามารถรู้ตำแหน่งของสินค้าได้ว่าอยู่ตรงไหนไปถูกทางหรือเปล่า จุดบกพร่องตรงหรืออุปสัก จะได้แก้ไขปัญหาได้ทัน เช่นเรืออับปางกลางทะเลแล้วมีลูกเรือติดอยู่ในเรือ หรือลอยคออยู่กลางทะเล สามารถที่รู้ตำแหน่งที่เรืออับปางได้แล้ว แล้วยังสามารถรู้ว่าเรือที่อยู่ใกล้ เรือที่อับปางอยู่ตรงให้ เพื่อขอความช่วยเหลือ หรือ การออกแบบสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการทหารและการป้องกันประเทศอีกสามารถที่จะรู้ตำแหล่งของศัตรู หรือฐานทัพของศัตรู หรือฐานที่ตั้งของระเบิดนิวเคลียร์

ปัจจุบันมีการพัฒนาการให้บริการที่ผสมผสานกับข้อมูลของ Google Earth หลายอย่างเช่น ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีการแสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกและชัดเจน การวางแผนการจัดการเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน รวมถึงจะเอื้อประโยชน์ต่อรุกิจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับที่พักอาศัย บ้านเช่าต่าง ๆ
Google Earth ยังช่วยให้ธุรกิจงานทางด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ


และนอกจากนี้ โปรแกรมนี้ยังมีความสามารถในการช่วยค้นหาเส้นทาง สำหรับท่านที่ต้องการจะเดินทาง จากที่นึงไปยังอีกที่นึงได้อีกด้วย (แต่ว่าความสามารถตรงนี้นั้น สามารถใช้ได้กับบางประเทศเท่านั้น)

ซึ่งช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างถูกต้องทำให้เราสามารถค้นหาที่ที่เราจะไปหรือเส้นทาง ต่างๆ ของประเทศหรือเมืองที่เราจะเดินทางไป และข้อมูลอื่นๆ เช่น ดินฟ้าอากาศได้ และเครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง
นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ทั้วโลกสามารถมองเห็นจุดสำคัญที่ดึงนักท่องได้หลายแสนคนที่เข้าไปที่ในประเทศตน

นอกจากจะใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ในส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้วยังมีมากมายที่ใช้กูเกิ้ล เอิร์ธในการทำธุรกิจหรือธุระกรรมต่าง จะยกตัวอย่างในการที่ กรมธรณีวิทยาใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ในการหาแร่ธาตุ
· ?mineral=gold หมายถึง เลือกข้อมูลตำแหน่งพบแร่เฉพาะแร่ที่ประกอบด้วยอักษร gol
· ?mineral=lime หมายถึง เลือกข้อมูลตำแหน่งพบแร่เฉพาะแร่ที่ประกอบด้วยอักษร lime เป็นต้น
หรือจะเป็นทางด้านภัยธรรมชาติ ซึ่งทางด้าน ธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี สามารถรู้เหตุการณ์ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่เช่นแผ่นดินไหวหรือเกิดภัยพิบัติอะไรเพื่อจะได้แก้ปัญหาก่อนที่เหตุจะเกิดทำให้ลดความสูญเสียหรือเสียหายได้

ดังนั้นเพื่อเป็นการบริการเผยแพร่ข้อมูลทางด้าน ธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี สู่ประชาชนอีกทางหนึ่ง ศูนย์สารสนเทศ กรมทรัพยากรธรณี จึงได้ทำการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี ผ่านทางโปรแกรม Google Earth โดยผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้งานได้ที่หัวข้อข้อมูลบริการ และศึกษาวิธีการใช้งานได้ที่หัวข้อ วิธีการใช้งาน


จุดแข็ง
ความสำคัญและประโยชน์ของกูเกิ้ล เอิร์ธความสำคัญและประโยชน์ของกูเกิ้ลเอิร์ธมีมากมายหลายด้านที่จะนำมาประยูกต์ใช้ให้เกิดประโยช์ของแต่องค์กรขึ้นอยู่ว่าแต่ละองค์กรหรือหน่วยงานจะนำไปให้ในรูปแบบให้ที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ด้านต่างๆ

ด้านการทหาร กูเกิ้ล เอิร์ธ เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ทางด้านการทหารใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ต่างๆ หรือ ใช้เป็นเครื่องมือคู่กับแผนที่เพื่อความถูกต้องและแมนยำของฐานที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ๆ ที่ต้องการทราบ ในการโจมตีศัตูร,ป้องกันประเทศ, ช่วยเหลือประชาชน ฯลฯ

ด้านการเมืองการปกครอง จำเป็นระดับหนี่งต้องอาศัยกูเกิ้ล เอิร์ธในการวางแผนดำเนินการ เตรียมรับหรือแก้ไขสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างถูกต้อง กูเกิ้ล เอิร์ธ ในกิจกรรมทางการเมืองนอกจากแผนที่แนวเขตแดนซึ่งสำคัญแล้ว ยังต้องเกี่ยวข้องกับแผนที่ ต่าง ๆ มากมาย
ด้านเศรษฐกิจและสังคม ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ต้องอาศัยก็ต้องเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ทราบทำเลที่ตั้งแต่ สภาพทางกายภาพแหล่งทรัพยากร นอกจากนี้ยังสามารถใช้กูเกิ้ล เอิร์ธ ช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมและความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ได้มากขึ้น ทำให้วางแผนและพัฒนาเป็นไปได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
ด้านสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ที่เห็นชัดคือสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปการศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยแผนที่เป็นสำคัญ และอาจช่วยให้การดำเนินการวางแผนพัฒนาสังคมเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว กูเกิ้ล เอิร์ธ มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยวในอันที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม
ด้านการเรียนการสอน กูเกิ้ล เอิร์ธ เป็นตัวส่งเสริมกระตุ้นความสนใจ และก่อให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนดีขึ้นใช้เป็นแหล่งข้อมูลทั้งทางด้านกายภาพ ภูมิภาค วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สถิติและการกระจายของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และปรากฏการณ์ต่าง ๆใช้เป็นเครื่องช่วยแสดงภาพรวมของพื้นที่หรือของภูมิภาค อันจะนำไปศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่


จุดอ่อน
- ยังทีบางพื้นที่ที่กูเกิ้ล เอิร์ธยังมองภาพผ่านกูเกิ้ล เอิร์ธ ได้ เนื่องจากเ ป็นพื้นที่เฉพาะ หรือเป็นสาถานที่สำคัญ และนอกจากนี้ บางพื้นที่ภาพของกูเกิ้ล เอิร์ธ จากดาวเทียมยังไม่อัปเดรส ทันต่อโลกปัจจุบัน
- อาจเป็นประโยชน์กับผู้ที่นำไปใช้ผิดทางได้ อยู่เช่น อาจกระทบกับความมั่นคงของประเทศได้ โดยเคยมีรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ กองทัพไทยผวา เว็บไซด์ “กูเกิ้ลเอิร์ท” ที่เปิดให้บริการกับสาธารณะทั่วไป ใครๆ ก็สามารถเปิดดูได้ เป็นการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียมแบบเจาะลึกสถานที่ต่างๆ ได้ทั่วโลก มีส่วนขยายเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน คล้ายดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ที่เห็นในภาพยนตร์ เจ้าของเว็บระบุ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักท่องเที่ยวที่ต้องการวางแผนการเดินทาง ค้นหาที่พัก หรือหาเส้นทางการจราจร หรือนักลงทุนที่ต้องการศึกษาพื้นที่ แต่กองทัพหวั่นฝ่ายตรงข้ามเจาะข้อมูลที่ตั้งทางทหารทะลุปรุโปร่งแน่เมื่อวันที่ 6 ก.ย. กองทัพไทย ได้ขอความร่วมมือกับ บริษัท กูเกิ้ล (Google USA) ให้ปรับลดความชัดเจนภาพถ่ายดาวเทียมลง หวั่นเกิดผลกระทบความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้สืบเนื่องจาก บริษัท กูเกิ้ลฯ ได้เปิดบริการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียมในส่วนของบริการแผนที่โลก หรือ กูเกิ้ลเอิร์ท (Google Earth) ซึ่งเป็นการแสดงภาพถ่ายจากดาวเทียม ให้บริการแก่สาธารณะชน ซึ่งใครที่ใช้อินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าดูได้หมด โดยจัดให้บริการผ่านเว็บไซด์ www.google.com ซึ่งสามารถค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของประเทศต่างๆ จนกระทั่งอำเภอ ตำบล ไปจนถึงตำแหน่งบ้าน โดยสามารถที่จะขยายภาพให้เห็นรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างชัดเจน รวมถึงสถานที่ที่ต้องการรักษาความลับ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เรื่องดังกล่าว กองทัพไทย เกรงว่าภาพถ่ายจากดาวเทียม ที่ กูเกิ้ล ให้บริการนี้ อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เนื่องจากสามารถเข้าดูสถานที่ตั้งทางทหาร และพื้นที่สำคัญด้านความมั่นคงของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน เพราะภาพถ่ายจากดาวเทียมดังกล่าว มีความละเอียดสูง และมีความชัดเจนของภาพมาก ทั้งยังมีการปรับปรุงภาพถ่ายจากดาวเทียมให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งคล้ายกับการปฏิบัติการของดาวเทียมจารกรรมทางทหาร ซึ่งไม่เป็นผลดี ถ้ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อประเทศไทย คิดนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อสร้างความไม่สงบต่อที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ฉะนั้นทางกองทัพไทย จึงได้ขอความร่วมมือไปยัง บริษัท กูเกิ้ล สหรัฐอเมริกา ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ ให้ปรับลดรายละเอียด และความชัดเจนของภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อมิให้กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถึงแม้การให้บริการดังกล่าว จะเป็นเรื่องของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ตาม อย่างไรก็ตามนอกจากประเทศไทยแล้ว ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า เกาหลีใต้ ได้ออกมาแสดงความกังวลใจกับการให้บริการดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีความคมชัด และเกาหลีใต้ก็ยังมีกรณีพิพาทกับเกาหลีเหนืออยู่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กูเกิ้ล ได้เปิดตัวบริการแผนที่โลกด้วยการใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมมุมสูงมาสร้างเป็นแผนที่ 3 มิติ สามารถสืบค้นแผนที่ใหม่ล่าสุดเพื่อการสืบค้นแบบโลคอล หรือแบบท้องถิ่น ที่จะทำให้ผู้ใช้ได้เห็นภาพสถานที่จริงได้อย่างชัดเจน โดยได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และเป็นบริการที่ทำขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ต้องการวางแผนการเดินทาง นักธุรกิจที่ต้องการเข้าไปลงทุนในพื้นที่ต่างๆ การค้นหาที่พัก และเส้นทางจราจร

- มีการ์ดแสดงผลแบบ 3D ยี่ห้อ ATI บางรุ่นไม่สนับสนุน Google Earth (beta)... ได้แก่ ATI Rage Mobility, ATI Xpert, ATI 3D Rage.** สำหรับผู้ใช้การ์ดแสดงผลแบบ 3D
- นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์จะใช้โปรแกรมกูเกิ้ล เอิร์ธ ได้ก็ต้องมีสเปคค่อนข้างสูง
- ปัจจุบันโปรแกรม Google Earth (beta)... จะยังไม่พร้อมรองรับคอมพิวเตอร์ตระกูล Apple - คอมพิวเตอร์ Notebook รุ่นเก่า (หลัง 4 ปีก่อน) อาจใช้งานไม่ได้- คอมพิวเตอร์ PC รุ่นเก่า (หลัง 2 ปีก่อน) อาจใช้งานไม่ได้สเปคคอมพิวเตอร์ที่ใช้สเปคต่ำสุดที่รองรับ- ระบบปฏิบัติการ Windows 2000, Windows XP - CPU speed: Intel Pentium III 500 MHz - System memory (RAM): 128MB - 200MB hard-disk space - การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 16MB VRAM - 1024x768, 32-bit true color screen - อินเทอร์เน็ตที่ใช้ควรมี speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet") สเปคที่แนะนำ- ระบบปฏิบัติการ Windows XP - CPU speed: Intel® Pentium® P4 2.4GHz+ หรือ AMD 2400xp+ - System memory (RAM): 512MB - 2GB hard-disk space - การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 32MB VRAM or greater - 1280x1024, 32-bit true color screen - อินเทอร์เน็ตที่ใช้ควรมี speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")ข้อมูลเพิ่มเติมการ์ดแสดงผลแบบ 3D มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้งาน Google Earth รุ่นที่สนับสนุนยี่ห้อการ์ดแสดงผลแบบ 3D ที่สนับสนุนมีดังนี้• NVIDIA • ATI* • 3D Labs • Intel** • Matrox • S3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น