♡ ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ♡
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่
คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
พ.ศ. 2510
เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่า อาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์
พ.ศ. 2512
โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่า แพ็กเก็ตสวิตชิง (packet Switching)
พ.ศ. 2515
เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้
พ.ศ. 2525
ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
พ.ศ. 2527
มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย
พ.ศ. 2529
มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ หรือ CSnet
พ.ศ. 2532
มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
การทำงานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การทำงานของอินเทอร์เน็ตนั้นข้อมูลต่างๆจะสื่อสารกันได้จะต้องมีกฏเกณฑ์ที่ใช้สื่อสารเป็นกฏเดียวกันในการควบคุมรูปแบบคำสั่งและข้อมูล และมีการกำหนดหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์หรือชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อด้วย
TPC/IP ภาษากลางบนอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งแต่ละคนก็ใช้คอมพิวเตอร์ต่างรุ่นต่างแบบกันไป เมื่อเราต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านี้เข้าด้วยกน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกติกากลางเพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถเข้าใจกันได้ ซึ่งในกติกากลางนี้มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า โปรโตคอล (protocol)
สำหรับโปรโตคอลมาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกว่า TPC/IP การทำงานของ TPC/IP จะแบ่งข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งไปอีกเครื่องเป็นส่วนย่อยๆ (เรียกว่า แพ็คเก็ต : packet) และส่งไปตามเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยกระจายแพ็คเก็ตเหล่านี้ไปหลายเส้นทาง ซึ่งแพ็คเก็ตเหล่านี้จะไปรวมกันที่ปลายทางและถูกนำมาประกอบกันเป็นข้อมูลทสมบูรณ์อีกครั้ง
รับส่งข้อมูลได้ถูกที่ด้วย IP Address
เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เราต้องทราบที่อยู่ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นบนอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า ไอพี แอดเดรส (IP Address)
ไอพีแอดเดรส เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก โดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่งตัวเลขเป็นชุด ซค่งแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 255
โดเมนเนม
แม้อินเทอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก จึงได้มีการใช้โดเมนเนม (Domain Name) หรืออินเทอร์เน็ตแอดเดรสมาใช้ ซึ่งเป็นการนำตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท หรือองค์กรผู้เป็นเจ้าของเพื่อสะดวกในการจดจำชื่อ เช่น องค์กรการอวกาศแห่งสหรัฐ (NASA) มีโดเมนเนม nasa.gov
ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น ซึ่งจะเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ เข้ามาร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สำหรับการการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมงเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อม เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท
ระบบเครือข่ายแบบเดิม
ในปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ต ขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต
ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
ประกอบด้วยชื่อของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้ ผู้ใช้@ ชื่อของอินเทอร์เน็ต เช่น Rattanachai@comnet3.ksc.net.th ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Rattanachai เป็นสมาชิกของศูนย์คอมที่ชื่อว่า comnet3 ที่มีชื่ออินเทอร์เน็ตว่า ksc.net.th เป็นต้น
หมายเลขประจำตัวเครื่อง ( IP Address)
ในการกำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะนำไประบุไว้ในส่วนของ IP เมื่อต้องการส่งข้อมูลเราก็จะเรียกตัวเลขระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้นี้ว่า IP Address ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดจะมีรหัสที่ไม่ซ้ำกันแ ละจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.150.251.31 หรือ 158.108.2.71 เป็นต้น
ระบบชื่อของเครื่อง
ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS: Domain Name System) คือ ชื่อที่ใช้อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เนื่องจาก IP Address นั้นจำยาก ดังนั้นเราจึงนำ DNS มาใช้แปลงตัวเลข IP Address ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายมาเป็นชื่อที่เราอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น nwg.nectec.or.th, comnet3.ksc.net.th เป็นต้น
ความหมายของโดเมน
com หมายถึง ใช้ธุรกิจ, บริษัท, ห้างร้าน (commercial)
net หมายถึง เป็นกลุ่มที่ให้บริการด้านเครือข่าย (network services)
edu หมายถึง ใช้ในสถาบันการศึกษา (education)
gov หมายถึง ใช้ในหน่วยงานรัฐบาล (government)
ตัวอย่างโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ
au หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia)
hk หมายถึง ฮ่องกง (Hong Kong)
jp หมายถึง ญี่ปุ่น (Japan)
fr หมายถึง ฝรั่งเศส (France)
uk หมายถึง อังกฤษ (United Kingdom)
th หมายถึง ไทย (Thailand)
ca หมายถึง แคนนาดา (Canada)
ความหมายของซับโดเมน
co หมายถึง องค์กรธุรกิจ (Commercial) เช่น ksc.co.th เป็นต้น
ac หมายถึง สถาบันการศึกษา (Academic) เช่น ku.ac.th เป็นต้น
go หมายถึง หน่วยราชการ (Government) เช่น mua.go.th เป็นต้น
or หมายถึง องค์กรอื่น ๆ (Organization) เช่น nectec.or.th เป็นต้น
net หมายถึง องค์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย (Network)
เช่น asiaaccess.net.th เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า " เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น